10 เรื่องราวความยั่งยืนของ ‘อองฟองต์’ แบรนด์ที่คุณแม่ทุกบ้านต้องมี พร้อม เปิดโรงงานโชว์กระบวนการผลิตที่ตอบโจทย์ทั้ง Baby-Friendly และ Eco-friendly
อองฟองต์ (Enfant) หนึ่งในแบรนด์ผู้นำเสื้อผ้าเด็ก ที่มีการสำรวจว่าในกลุ่มผู้บริโภคแม่และเด็กคนไทยแต่ละครอบครัว จะต้องมีผลิตภัณฑ์อองฟองต์อย่างน้อย 1 ชิ้น สะท้อนถึงความแข็งแรงในตลาดได้เป็นอย่างดี
สำหรับแบรนด์อองฟองต์ ทำตลาดในประเทศไทยมากว่า 39 ปี ด้วยแนวทางการขับเคลื่อนผ่านแนวคิด “รักลูกของคุณ รักษ์โลกของเรา” เพื่อมุ่งมั่นส่งต่อผลิตภัณฑ์คุณภาพได้แบบรุ่นสู่รุ่น พร้อมแนวทางขับเคลื่อนเพื่อก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 4 เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนได้อย่างต่อเนื่อง ผ่านจุดแข็งของแบรนด์ที่ตอบโจทย์ได้ทั้ง Baby-friendly และ Eco-friendly และความสามารถในการพัฒนาทุกกระบวนการในการผลิตสินค้าให้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะในมิติของ Green Product, Green Material รวมทั้ง Green Factory
10 อินไซต์ ‘อองฟองต์’ แบรนด์ที่คุณแม่ทุกบ้านต้องมี
อองฟองต์ ได้ฤกษ์เปิดกระบวนการผลิต พร้อมข้อมูลที่น่าสนใจของแบรนด์ ที่ทำให้สามารถรักษาความเป็นผู้นำแบรนด์ในใจคุณแม่คนไทยไว้ได้มาเกือบ 4 ทศวรรษ โดยมีผู้บริหารในเครือมาร่วมให้ข้อมูลทั้ง คุณบุษบง มิ่งขวัญยืน ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ BSC International, คุณชุติมา ประเสริฐศรี ผู้อำนวยการผลิตภัณฑ์ Enfant และ คุณพงษ์สันติ์ วงษ์เสริมหิรัญ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม บริษัท ไทยวาโก้ จำกัด (มหาชน) ในฐานะโรงงานผู้ผลิตเสื้อผ้าเด็กอองฟองต์
โดยเรื่องราวการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การคัดเลือกวัตถุดิบ กระบวนการผลิต รวมทั้งแนวทางขับเคลื่อนทางการตลาดของแบรนด์อองฟองต์ ล้วนตอบโจทย์ทั้งเรื่องคุณภาพ ความปลอดภัยสำหรับเด็ก รวมท้ังความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับทัศนคติของคุณแม่ในยุคใหม่ ที่นอกจากใส่ใจผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมอบความปลอดภัยให้แก่ลูกแล้ว ยังมองหาแบรนด์ที่มีความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันด้วย เนื่องจากต้องการส่งมอบโลกที่ยั่งยืนไปสู่รุ่นลูกด้วยเช่นกัน โดย 10 เรื่องราวด้านความยั่งยืนของอองฟองต์ แบรนด์ที่ทั้ง ‘รักลูก’ และ ‘รักษ์โลก’ ประกอบด้วย
1. อองฟองต์ ถือเป็นสินค้ากรีนโปรดักต์ที่มีความเป็น Low Carbon เนื่องจาก การเลือกใช้วัตถุดิบที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะมาจากธรรมชาติที่สามารถย่อยสลายได้อย่างคอตตอน จากอเมริกา ผสมกับเส้นใย Bamboo ซึ่งมาจากป่าปลูก ผสมผสานกับการพัฒนา Biotechnology เพื่อพัฒนาให้มีผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นเพื่อลดการใช้พื้นที่เพาะปลูก ใช้น้ำในการเพาะปลูกน้อยลงถึง 80% รวมทั้งไม่ใช้สารเคมีในการเพาะปลูก ทำให้ช่วยลดการสร้างก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ ขณะเดียวกันยังสามารถช่วยดูดซับคาร์บอนไว้ได้ด้วย ซึ่งกระบวนการได้มาของวัตถุดิบที่เน้นการลดคาร์บอนทำให้ผลิตภัณฑ์อองฟองต์เป็นสินค้า Low Carbon เช่นกัน โดยเสื้อเด็กอองฟองต์ 1 ตัว 75 กรัม สามารถลดคาร์บอนลงได้ 1.7 กิโลกรัม
2. แม้เสื้อผ้าเด็กอาจจะเป็นกลุ่มที่ใช้งานได้ไม่นานมากนัก แต่ด้วยนวัตกรรมในการผลิตที่เน้นคุณภาพจากการถักทอ รวมทั้งกระบวนการวิจัยและทดสอบต่างๆ ทั้งการเลือกใช้สี การทดสอบความคงทนของวัสดุที่ใช้ ทำให้เสื้อผ้าเด็กอองฟองต์มีความคงทน และสามารถใช้ได้นาน รวมทั้งยังสามารถส่งต่อกันได้แบบรุ่นสู่รุ่น ทำให้ช่วยลดปริมาณขยะไปสู่หลุมฝังกลบ
3. นอกจากการส่งมอบจากรุ่นสู่รุ่นในครอบครัวแล้ว ทางแบรนด์ยังให้ความสำคัญในการเก็บกลับผลิตภัณฑ์ในฐานะผู้ผลิต ตามแนวทาง EPR ซึ่งแม้ว่าบริบทกฏหมายของไทยที่กำลังขับเคลื่อน อาจจะมุ่งเน้นที่กลุ่มบรรจุภัณฑ์เป็นหลัก แต่ทางอองฟองต์จะเป็นผู้นำร่องในการรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์ที่ตนเองเป็นผู้ผลิต โดยได้มีโปรเจ็กต์รับบริจาคเสื้อผ้าเด็กอองฟองต์ที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว เพื่อนำมาสร้างประโยชน์ใหม่ ทั้งการส่งต่อให้มูลนิธิ หรือหน่วยงานต่างๆ ที่มีความต้องการนำไปใช้งาน รวมไปถึงการเก็บกลับเสื้อผ้าที่เสื่อมสภาพแล้ว เพื่อนำส่งต่อให้พันธมิตรในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งสามารถนำมาคำนวณเป็นคาร์บอนเครดิตกลับมาได้ด้วย
4. อองฟองต์ ยังให้ความสำคัญในการใช้ผลิตภัณฑ์ เป็นตัวกลางเพื่อสร้าง Mindset เรื่องสิ่งแวดล้อมไปสู่กลุ่มเป้าหมายอย่างแม่และเด็ก รวมทั้งการสร้าง Awareness ในภาพรวมเพื่อกระตุ้นการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เช่น การออกแบบคอลเลกชั่นใหม่ที่จะพิมพ์ลาย ‘เต่ามะเฟือง’ สำหรับเสื้อผ้าทั้งในกลุ่มเด็กชายและหญิง รวมทั้งเตรียมจัดกิจกรรมต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มการตื่นตัวเรื่อง ‘รักษ์โลก’ ได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการใช้ผลิตภัณฑ์ของอองฟองต์ เช่น ผ้าอ้อม ช่วยลดการสร้างขยะจากผ้าอ้อมสำเร็จรูปลงได้ถึง 50%
5. ในส่วนของกระบวนการผลิตทางโรงงานมุ่งเน้นแนวทาง Zero Waste ให้ความสำคัญกับการจัดการของเสียที่เกิดขึ้นภายในโรงงานเพื่อไม่ให้เกิดเป็นขยะ โดยวัตถุดิบกว่า 90% ถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด ขณะที่อีก 10% ก็สามารถนำไปรีไซเคิลหรือขายต่อให้ผู้นำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น เศษผ้า ที่ทางโรงงานใช้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้เหลือเศษน้อยกว่าที่คำนวณไว้ ส่วนที่เหลือก็สามารถนำไปขายต่อ สำหรับยัดไส้เฟอร์นิเจอร์ หรือตุ๊กตาได้
6. สำหรับกลุ่มบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ของอองฟองต์ ทั้งหมดผลิตขึ้นมาจากวัสดุรีไซเคิล ไม่ว่าจะเป็นกล่องกระดาษ หรือถุงพลาสติก ซึ่งสามารถนำมาใช้ซ้ำได้ และเมื่อใช้จนชำรุดแล้วก็สามารถนำส่งกลับเข้าสู่กระบวนการเพื่อนำไปรีไซเคิลเพื่อผลิตกลับเป็นบรรจุภัณฑ์ได้ใหม่อีกครั้ง
7. ทางโรงงานให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากร และพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มมากขึ้น เช่น การติดตั้งโซลาร์รูฟ เพื่อนำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตเป็นไฟฟ้าใช้ในโรงงานได้ถึง 30% ซึ่งมีแผนลงทุนเพื่อติดตั้งแผงโซลาร์เพิ่มเติมตามอาคารหรือพื้นที่ต่างๆ ในโรงงาน รวมทั้งการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างคุ้มค่าและทำการบำบัดก่อนปล่อยสู่ธรรมชาติ
8. ให้ความสำคัญในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ซึ่งทางโรงงานมีพื้นที่สีเขียวรวมกว่า 10% สูงกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ที่ 5% รวมทั้งยังได้ร่วมกับหน่วยงานภายนอก เพื่อส่งเสริมการปลูกต้นไม้เพิ่มเติมอีกปีละ 500 ต้น ต่อเนื่องตลอดการดำเนินงาน ซึ่งในอนาคตจะสามารถนำมาคำนวนคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยการปลดปล่อยคาร์บอนจากการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการเป็น Net Zero ในปี 2050
9. ในส่วนการขนส่ง อองฟองต์ให้ความสำคัญกับแนวทาง Eco Logistics โดยจะทยอยเปลี่ยนรถขนส่งให้เป็น EV ทั้งหมด จากปัจจุบันเริ่มใช้แล้ว 2-3 คัน รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้บริหารหันมาใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น โดยได้ร่วมมมือกับพันธมิตรในการติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้าเพื่ออำนวยความสะดวกดเพื่อนรองรับการใช้งานในอนาคต
10. อองฟองต์ มีเป้าหมายที่จะลดการปล่อยคาร์บอนลง 30% ภายในปี 2030 และมุ่งสู่ Net Zero ภายในปี 2050 สำหรับสโคปที่ 1 และ 2 จากปริมาณคาร์บอนที่คำนวณการปลดปล่อยได้ราว 4,000 ตัน ทั้งจากการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนให้มากขึ้น ทั้งจากการติดตั้งแผงโซลาร์ หรือเพิ่มการใช้รถ EV ทั้งในการขนส่งและรถผู้บริหาร รวมถึงการปลูกป่าเพิ่มเติมเพื่อชดเชย ขณะเดียวกันจะเริ่มพูดคุยกับคู่ค้าภายในซัพพลายเชน เพื่อให้เริ่มปรับเปลี่ยนการขับเคลื่อนธุรกิจตามแนวทางความยั่งยืน เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการขับเคลื่อนสโคป 3
ทั้งนี้ ทางอองฟองต์ประเมินการลงทุนในแต่ละปี สำหรับใช้ในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ภายในโรงงานเพื่อมุ่งสู่การเป็น Net Zero ตามเป้าหมาย ไว้ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบัน บริษัท ไทยวาโก้ จำกัด (มหาชน) ได้รับรองโรงงานอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 4 จากกระทรวงอุตสาหกรรม และได้รับการรับรองโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ Eco Factory ปี 2560 และปี 2563 ในฐานะโรงงานที่มีการปล่อยของเสียเป็นศูนย์ หรือมีของเสียจากกระบวนการผลิตเกิดน้อยที่สุด รวมถึงมีการเกื้อกูลกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือสังคมโดยรอบด้วย ดังนั้น ทุกขั้นตอนของอองฟองต์ ตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการส่งมอบผลิตภัณฑ์ถึงมือผู้บริโภค มีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ และคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในระบบนิเวศของธุรกิจครบทุกมิติ